วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การออกแบบกรอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา

กรอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา ที่จะพัฒนาผู้เรียน ให้เกิด science literacy และสอดคล้องกับสภาพสังคมไทยปัจจุบัน ( Biology Science Curriculum Framework )
หมายเหตุ: เป็นการออกแบบหลักสูตรวิชาชีววิทยา โดยอิงสาระและมาตรฐานการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของ สสวท. แล้วนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบกรอบหลักสูตรที่เราสร้างขึ้นมา


วิเคราะห์สาระและมาตรฐานการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ (สสวท. และ หลักสูตรแกนกลาง 2551)
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 5 พลังงาน
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาระที่1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1 : เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบ ต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2 : เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่2 : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1 : เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2 : เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่3 : สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.1 : เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2 : เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่4 : แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.1 : เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหา ความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรม
มาตรฐาน ว 4.2 : เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุในธรรมชาติ มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่5 : พลังงาน
มาตรฐาน ว 5.1 : เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 : เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7.1 : เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแล็กซี ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ และผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2 : เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระที่8 : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรฐาน ว
8.1 : ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

เป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนรายวิชาชีววิทยา
วิชาชีววิทยามีบทบาทสำคัญสำหรับสังวคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิชาชีววิทยาเกี่ยวข้องกับมนุษย์ สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม การสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์มีคุณภาพดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
ในการเรียนวิชาชีววิทยา มุ่งเน้นการใช้กระบวนการสังเกต การสำรวจตรวจสอบ การทดลอง แล้วนำผลที่ได้มาจัดระบบเป็นหลักการ แนวคิดและทฤษฎี การเรียนรู้ชีววิทยาจึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเองมากที่สุด เพื่อให้ได้ทั้งกระบวนการและความรู้
เป้าหมายของการเรียนการสอนวิชาชีววิทยามี 7 ประการ ได้แก่
1 ให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการ ทฤษฎีพื้นฐานของชีววิทยา
2 ให้ผู้เรียนเข้าใจขอบเขตของธรรมชาติและข้อจำกัดของวิชาชีววิทยา
3 ให้ผู้เรียนมีทักษะในการศึกษาค้นคว้า คิดค้นเทคโนโลยีชีวภาพ
4 ให้ผู้เรียนพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ การแก้ปัญหาและการจัดการ ทักษะการสื่อสารและการตัดสินใจ
5 ให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ มนุษย์กับสภาพแวดล้อม
6 ให้ผู้เรียนนำความรู้ความเข้าใจวิชาชีววิทยาและเทคนโลยีชีวภาพไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคมและการดำเนินชีวิต
7 ให้ผู้เรียนมีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรมจริยธรรม มีค่านิยมในการใช้ความรู้และเทคโนโลยีชีวภาพอย่าง สร้างสรรค์

วิสัยทัศน์การเรียนรู้วิชาชีววิทยา
1. การเรียนรู้ชีววิทยาเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับทั้งความรู้ กระบวนการ และเจตคติ ผู้เรียนทุกคนควรได้รับการกระตุ้นส่งเสริมให้สนใจและกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ มีความสงสัยเกิดคำถามในสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตและสิ่งแวดล้อมรอบตัว มีความมุ่งมั่นและมีความสุขที่จะศึกษาค้นคว้า สืบเสาะหาความรู้เพื่อรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผล นำไปสู่คำตอบของคำถาม สามารถตัดสินใจด้วยการใช้ข้อมูลอย่างมีเหตุผล สามารถสื่อสารคำถาม คำตอบ ข้อมูล และสิ่งที่ค้นพบจากการเรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
2. การเรียนรู้ชีววิทยาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากความรู้วิทยาศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จำเป็นที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตและการประกอบวิชาชีพ เมื่อผู้เรียนได้เรียนวิทยาศาสตร์โดยได้รับการกระตุ้นให้เกิดความตื่นเต้น ท้าทายกับการเผชิญสถานการณ์หรือปัญหา มีการร่วมกันคิด ลงมือปฏิบัติจริง ก็จะเข้าใจและเห็นความเชื่อมโยงของวิชาชีววิทยากับวิชาอื่น ๆ และการดำรงชีวิต ทำให้สามารถอธิบาย ทำนาย คาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผล การจัดการเรียนการสอนจึงต้องสอดคล้องกับสภาพจริงในชีวิต โดยใช้แหล่งเรียนรี่หลากหลายในท้องถิ่น และคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของผู้เรียนที่มีวิธีการเรียนรู้ ความถนัดและความสนใจแตกต่างกัน

การจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา
1. เน้นการเรียนรู้ที่ผ่านกระบวนการคิด กระบวนการปฏิบัติ เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบ เชื่อมโยงกับชีวิตจริงและสิ่งแวดล้อม
3. ครูต้องปรับบทบาทจากการเป็นผู้ป้อนข้อมูล เป็นผู้ให้คำแนะนำ และผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ เนื่องจากมีวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถหาความรู้ที่มีอยู่มากมายด้วยตนเอง โดยไม่จำกัดอยู่พียงแค่ความรู้ที่ครูถ่ายทอดให้เท่านั้น
4. ครูทำหน้าที่ชี้แนะสำหรับการแสวงหาความรู้หรือการนำความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการและแหล่งที่จะได้มาซึ่งข้อมูล
5. ครูใช้วิธีการจัดกิจกรรม ใช้สื่อประกอบ ให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้ในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆอย่างกว้างขวาง ฝึกให้คิดตั้งคำถามและแสวงหาคำตอบอย่างมีเหตุผล มีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และการลงมือปฏิบัติ
6. ส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้ใหม่ที่ได้ ไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนำไปประยุกต์ใช้
7. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินจุดเด่นจุดด้อยของการจัดการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบ ให้นักเรียนมีโอกาสตรวจสอบซึ่งกันและกัน มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ใหม่ที่ค้นพบ

การออกแบบกรอบสาระการเรียนรู้วิชาชีววิทยาสำหรับช่วงชั้นที่ 4

หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานทางชีววิทยา จำนวน 1.5 หน่วยกิต
เนื้อหาพื้นฐาน
1. ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
2. การศึกษาชีววิทยา
3. เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
4. เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
เนื้อหาเพิ่มเติม
1. ประวัติศาสตร์ชีววิทยา

หน่วยที่ 2 การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์และสัตว์ จำนวน 1.5 หน่วยกิต
เนื้อหาพื้นฐาน
1. ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน
2. การรักษาดุลยภาพในร่างกาย
3. การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต
เนื้อหาเพิ่มเติม
1. พลังงานจากวัตถุดิบทางการเกษตร : แก๊สชีวมวลและเอธานอล
2. ความปลอดภัยของอาหาร (food safety)

หน่วยที่ 3 การประสานงานในร่างกายและการสืบพันธุ์ของมนุษย์และสัตว์ จำนวน 1.5 หน่วยกิต
เนื้อหาพื้นฐาน
1. การรับรู้และการตอบสนอง
2. ระบบต่อมไร้ท่อ
3. พฤติกรรมของสัตว์
4. การสืบพันธ์และการเจริญเติบโตของสัตว์
เนื้อหาเพิ่มเติม
1. ชีวกลศาสตร์ (biomechanics)
2. เซลล์ตั้งต้น (stem cells)
3. การผสมเทียม (in vitro fertilization, IVF)
4. การโคลนสัตว์ (animal cloning)

หน่วยที่ 4 การดำรงชีวิตของพืช จำนวน 1.5 หน่วยกิต
เนื้อหาพื้นฐาน
1. โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
2. การสังเคราะห์ด้วยแสง
3. การสืบพันธ์ของพืชดอก
4. การตอบสนองของพืช
เนื้อหาเพิ่มเติม
1. การสื่อสารระหว่างต้นไม้
2. ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากพืช
3. การปลูกพืชไม่ใช้ดิน (hydroponic)
4. ชีวนาโนเทคโนโลยี (bionanotechnology)

หน่วยที่ 5 พันธุศาสตร์ จำนวน 2.0 หน่วยกิต
เนื้อหาพื้นฐาน
1. การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
2. ยีนและโครโมโซม
3. พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
เนื้อหาเพิ่มเติม
1. สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMO)
2. การรักษาโรคด้วยยีน (gene therapy)

หน่วยที่ 6 วิวัฒนาการ จำนวน 2.0 หน่วยกิต
เนื้อหาพื้นฐาน
1. วิวัฒนาการ
เนื้อหาเพิ่มเติม
1. วิวัฒนาการของเชื้อดื้อยา
2. โรคอุบัติใหม่

หน่วยที่ 7 ความหลากหลายทางชีวภาพ จำนวน 2.0 หน่วยกิต
เนื้อหาพื้นฐาน
1. ความหลากหลายทางชีวภาพ
เนื้อหาเพิ่มเติม
2. การสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
3. การเรืองแสงของสิ่งมีชีวิต

หน่วยที่ 8 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 1.5 หน่วยกิต
เนื้อหาพื้นฐาน
1. สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ
เนื้อหาเพิ่มเติม
2. การสำรวจนิเวศท้องถิ่น
3. ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิต

การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์
มาตรฐาน ว 8.1 : ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์นอกห้องเรียน ให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง จึงควรจัดกิจกรรมที่หลากหลายให้กับผู้เรียน เช่น
1. การดูงานนอกสถานที่ การศึกษาธรรมชาติ
2. การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นจากสถานที่จริง
3. กิจกรรมสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์
4. กิจกรรมโครงงาน
5. กิจกรรมเสนอผลงานทางวิทยาศาสตร์

การวัดผลและประเมินผล
การประเมินการเรียนรู้เป็นไปตามการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic assessment) โดยเป็นการประเมินในเรื่องต่อไปนี้1.การประเมินด้านความรู้ประเมินความรู้ความเข้าใจในความคิดรวบยอดของสาระการเรียนรู้จากการทำแบบทดสอบ ประกอบด้วย แบบทดสอบรายหน่วย แบบทดสอบกลางภาค และแบบทดสอบปลายภาค2.การประเมินด้านทักษะประเมินจากการใช้ทักษะกระบวนการแสวงหาความรู้ การใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ การใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการทดลองและการเขียนรายงานการทดลอง ทักษะการนำเสนอ ทักษะการทำงานเป็นทีม3.การประเมินด้านจิตวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ได้แก่ ความสนใจใฝ่รู้ ความมุ่งมั่น อดทน รอบคอบ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ประหยัด การร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ความมีเหตุผล การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์

หลักการประเมินตามสภาพจริง

1. การประเมินตามสภาพที่แท้จริง ไม่เน้นการประเมินทักษะพื้นฐาน (Skill Asessment) แต่เน้นการประเมินทักษะการคิดที่ซับซ้อนในการทำงาน(Complex Thinking Skill) ความร่วมมือ ในการแก้ปัญหาและการประเมินตนเองทั้งภายใน และภายนอกห้องเรียน
2. การประเมินตามสภาพที่แท้จริงเป็นการวัดและประเมินความก้าวหน้าของนักเรียน
3. การประเมินตามสภาพที่แท้จริงเป็นการสะท้อนให้เห็นการสังเกตสภาพงานปัจจุบัน (Current Work) ของนักเรียน และสิ่งที่นักเรียนได้ปฏิบัติจริง
4. การประเมินตามสภาพที่แท้จริง เป็นการผูกติดนักเรียนกับงานที่เป็นจริง โดยพิจารณาจากงานหลายๆชิ้น
5. ผู้ประเมินควรมีหลาย ๆคนโดยมีการประชุมระหว่างกลุ่มผู้ประเมิน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียน
6. การประเมินต้องดำเนินการไปพร้อมกับการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
7. นำการประเมินตนเองมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินตามสภาพที่แท้จริง
8. การประเมินตามสภาพที่แท้จริง ควรมีการประเมินทั้ง 2 ลักษณะ คือ การประเมินที่เน้นการปฏิบัติจริง และ การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน

สิ่งที่ต้องประเมินตามสภาพจริง
การประเมินตามสภาพจริงเป็นวิธีการประเมินที่ใช้เทคนิคการประเมินอย่าง
หลากหลายวิธีการตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อจะตรวจสอบคุณภาพของงานของนักเรียน ดังนั้นการประเมินต้องอาศัยหลักการที่ว่า นักเรียนต้องมีการแสดงออกในภาคปฏิบัติ (Performance) เพื่อแสดงถึงความเข้าใจ และเพื่อแสดงออกถึงทักษะจากการเรียนรู้ ตลอดจนการแสดงถึงกระบวนการ (process) รวมทั้งผลผลิต (Products) และชิ้นงาน ในแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)
1. การประเมินจากการแสดงออกและกระบวนการ (Performance and Process)
การประเมินการแสดงออกและกระบวนการเป็นการประเมินพฤติกรรมขณะที่นักเรียนลงมือทำงาน(task)ที่กำหนดให้ งานหรือสถานะการณ์ที่กำหนดให้นี้จะเป็นงานหรือสถานะการณ์ที่เป็นจริงหรือใกล้เคียงกับสภาพจริงเพื่อช่วยให้นักเรียนแก้ปัญหาหรือปฏิบัติงานได้จริงซึ่งจะประเมินจากกระบวนการทำงาน กระบวนการคิด และผลงาน
2. การประเมินกระบวนการและผลผลิต (Process and Products) การประเมิน
กระบวนการและผลผลิตนี้ ครูจะใช้วิธีตรวจผลงานหรือผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงาน
ทำงานของนักเรียน ทำให้ครูได้เข้าใจกระบวนการการเรียนรู้ของนักเรียน ตัวอย่างผลผลิต เช่น แผนงาน โครงงาน แผนภาพ แผนภูมิ ผลการทำแบบฝึกหัด การจัดนิทรรศการฯลฯ
3. การประเมินแฟ้มสะสมงาน (Portfolio Assessment) การประเมิน
แฟ้มสะสมงานเป็นวิธีการประเมินผลการเรียนการสอนโดยนักเรียนมีส่วนร่วม
ในการประเมินผลอย่างเต็มที่ซึ่งแฟ้มสะสมงานนี้เป็นการแสดงผลงานตาม ความสามารถ
ของแต่ละบุคคลนักเรียนจะเลือกผลงานและจัดเตรียมทำแฟ้มสะสมผลงานด้วยตนเอง
ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักรับผิดชอบและประเมินผลงานของตนเอง นอกจากนี้การประเมิน
โดยใช้แฟ้มสะสมงานช่วยส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆ และส่งเสริมคุณภาพการศึกษาให้แก่นักเรียนช่วยสนับสนุนให้เกิด ความงอกงาม และตระหนัก ถึงคุณค่าของตนเอง

ขั้นตอนการประเมินตามสภาพที่แท้จริงการประเมินตามสภาพที่แท้จริง
การประเมินตามสภาพ จริง เป็นการประเมินที่ผสมผสานไปกับการเรียนการสอน ซึ่งวัดความรู้ ความสามารถหลาย ๆด้านอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในการประเมินครูต้องพิจารณาว่า จะประเมินอะไร อย่างไร และจะทำอะไรกับข้อมูลที่ได้รับ มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1. ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดผลสัมฤทธิ์ หรือเป้าหมายที่ต้องการ
2. ทำความชัดเจนกับลักษณะ หรือความหมายของผลสัมฤทธิ์นั้น
3. กำหนดแนวทางของงานที่จะต้องปฏิบัติ เช่น งานที่ทุกคนต้องทำหรืองานที่ทำตามความสนใจ
4. กำหนดรายละเอียดของงาน
5. กำหนดกรอบการประเมิน (ทำแผนผังการประเมินที่แสดงความสัมพันธ์ของเนื้อหา กับพฤติกรรมที่ต้องการประเมิน
6. กำหนดวิธีการประเมิน เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การตรวจงาน การรายงานตนเองของ นักเรียน การบันทึกจากผู้เกี่ยวข้อง การทดสอบ การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน
7. กำหนดผู้ประเมิน (ควรมีใครบ้าง ครู นักเรียน ผู้ปกครอง)
8. กำหนดเกณฑ์การประเมิน

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เปรียบเทียบหลักสูตร

เปรียบเทียบหลักสูตรมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของ สสวท. กับโครงสร้างหลักสูตรวิทยาศาสตร์ของ The Rhode Island State

หลักสูตรมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของ สสวท.

1.สาระที่เป็นองค์ความรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 8 สาระ
สาระที่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2 : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร
สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 5 : พลังงาน
สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 8 : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2.แบ่งเป็นทั้งหมด 4 ช่วงชั้น คือ ช่วงชั้นที่ 1 ชั้น ป.1- ป.3 ช่วงชั้นที่ 2 ป. 4-ป. 6 ช่วงชั้นที่ 3 ม. 1-ม.3 ช่วงชั้นที่ 4 ม.4- ม. 6

3. เน้นระบบการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child center) และเน้นกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

4. วัดและประเมินผลตามสภาพจริง โดยวัดและประเมินผลทั้งความรู้ความคิด ความสามารถ ทักษะและกระบวนการ เจตคติ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมในวิทยาศาสตร์ รวมทั้งโอกาสในการเรียนรู้ของผู้เรียน

5. เน้นการฝึกทักษะต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์


โครงสร้างหลักสูตรวิทยาศาสตร์ของ The Rhode Island State

1. สาระที่เป็นองค์ความรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยเนื้อหา 4 ส่วน คือ The Nature of Technology, The Physical Setting, The Living Environment และ The Human Organism
จุดเด่นของหลักสูตรวิทยาศาสตร์ของ The Rhode Island State คือเน้นการบูรณาการวิทยาศาสตร์กับสาขาวิชาต่าง ๆ
ประกอบด้วย 12 สาระ ได้แก่
- The Nature of Science
- The Nature of Mathematic
- The Nature of Technology
- The Physical Setting
- The Living Environment
- The Human Organism
- The Human Society
- The Desidned World
- The Mathematict World
- Historical Perspective
- Common Themes
- Habbits of Mind


2. แบ่งช่วงชั้นการเรียนรู้ออกเป็น 4 ช่วงชั้น คือ อนุบาล- เกรด2, เกรด 3-5, เกรด 6-8, เกรด 9-12

3.เน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการ การสืบเสาะหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

4.การประเมินผลจะเน้นดูที่ผลงานของนักเรียนคือประเมินตามสภาพจริง

5. เน้นการฝึกทักษะต่างๆเช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การคิดแก้ปัญหาต่างๆ